ออกแบบเครื่องแต่งกาย
อาชีพนักออกแบบเครื่องแต่งกาย เป็นอาชีพอิสระสาขาหนึ่งที่ไปได้เรื่อย ๆ และดูเหมือนว่าจะมีแนวโน้มที่ดีในอนาคตเป็นอย่างมาก จะเห็นได้จาก กระแสการแต่งตัวที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันนี้ มีแต่จะพัฒนาขึ้นในทุก ๆ ด้าน
สำหรับผู้ที่ชื่นชอบงานด้านนี้ และมีวิชาอยู่กับตัวแล้ว วันนี้เรามีข่าว การประกวดการออกแบบเครื่องแต่งกาย มาฝากค่ะ แต่หากผู้ใดยังไม่ได้เริ่มต้นเรียนรู้ หรือแม้แต่เพียงรู้สึกว่าชอบ แต่ยังไม่รู้ว่า ใช่ ทางของตนไหม เราขอ (อนุญาต) แนะนำว่า ลองไปเรียนดูค่ะ จะได้รู้ว่าใช่ และ สามารถนำมาเป็นอาชีพได้ไหม คือจริง ๆ แล้วเราชอบสิ่งนี้หรือไม่
การเรียนรู้หรือการอบรมอาชีพต่างๆ แม้ว่าเราจะไม่ได้นำมา ประกอบอาชีพโดยตรง แต่วิชาความรู้ที่ได้เรียนมา ย่อมส่งผลดีให้กับเราได้ไม่วันนี้ก็วันหน้านะคะ
และสำหรับสถานที่เรียน ก็หาดูในบล็อกนี้ได้ค่ะ ยกตัวอย่างเช่น ที่โรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร ตั้งกระจายอยู่หลายเขตทั่วกรุงเทพฯ จะเปิดสอนวิชาชีพตลอดทั้งปี และ ที่เรียนฟรี ๆ ก็เช่น ศูนย์ฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร ก็มีอยู่หลายแห่งทั่วกรุงเทพฯ เช่นกัน (เลือกดูที่ใกล้บ้านได้ค่ะ ) ลองหาช่วงวันว่าง ๆ ไปเพิ่มพูนความรู้ด้านวิชาชีพ ไว้ติดตัว ก็ถือว่าเป็นประโยชน์ต่อตัวเราเองนะคะ ^^
สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม (Office of Contemporary Art and Culture) เชิญชวนผู้สนใจ ส่งผลงานการออกแบบ เข้าร่วม โครงการประกวดออกแบบเครื่องแต่งกาย "Contemporary Fashion Contest 2011"
คุณสมบัติผู้เข้าประกวด
- นิสิต นักศึกษาในสาขาวิชาการออกแบบเครื่องแต่งกายหรือที่เกี่ยวข้อง
- นักออกแบบอิสระ หรือ ผู้ที่สนใจทั่วไป ไม่จำกัดอายุ
- ผู้เข้าประกวดต้องส่งแฟ้มผลงานแบบร่าง (Design Drawing) เครื่องแต่งกายบุรุษหรือเครื่องแต่งกายสตรีจำนวน 10 ชุด (คณะกรรมการจะพิจารณาคัดเลือกให้ผลิตจริง จำนวน 7 ชุด)
- งานออกแบบทุกชุดจะต้องใช้ผ้าไทยหรือวัสดุที่มาจากภูมิปัญญาไทยเป็นส่วนประกอบหลัก โดยใช้วัสดุอื่นผสมได้ไม่จำกัด ผ้าไทยในที่นี้หมายถึง ผ้าไหมไทย ผ้าฝ้าย ผ้าที่ผลิตจากใยธรรมชาติ หรือผ้าที่แสดงเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่น เช่น ผ้าขาวม้า หรือ ผ้าม่อฮ่อม เป็นต้น
- แฟ้มผลงานมีขนาดไม่เกิน 30 x 40 เซนติเมตร พร้อมระบุหมายเลขกำกับ 1-10 ที่มุมบนด้านซ้ายของแต่ละแบบร่าง พร้อมแนบภาพวาดเทคนิค (Technical Drawing) ขนาดไม่เกิน 30-40 เซนติเมตร และตัวอย่างผ้าหรือวัสดุที่จะใช้ผลิตผลงานจริงพร้อมระบุส่วนผสม กลุ่มสีที่ใช้ พร้อมคำอธิบายสำหรับแต่ละชุด
- ภาพรวมของผลงานทั้ง 10 ชุดในหน้าเดียวกัน
- คำอธิบายรูปแบบการแสดงผลงานที่ต้องการ (Fashion Show Description) ในกรณีที่ได้รับการคัดเลือกเข้ารอบตัดสิน อาทิเช่น รูปแบบแสงและเสียง รูปแบบการแต่งหน้าและทำผม เป็นต้น
- ประวัติส่วนตัวโดยสังเขป (CV)
- ภาพถ่ายผลงานที่ผ่านมา (ถ้ามี) โปรดระบุให้ชัดเจนด้วยตัวพิมพ์ว่า “ผลงานที่ผ่านมา”
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมลงนามรับรอง
- กรุณาเขียนชื่อ นามสกุล ที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ ที่ด้านหลังของทุกหน้าในแฟ้มผลงาน โปรดทำสำเนาแฟ้มผลงานไว้กับตนเอง เนื่องจากทางสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย จะไม่ส่งแฟ้มผลงานคืนให้ไม่ว่ากรณีใดๆ
• รางวัลชนะเลิศ 1 รางวัล เงินสด 200,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ
• รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 1 รางวัล เงินสด 100,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ
• รางวัลรองชนะเลิส อันดับ 2 1 รางวัล เงินสด 70,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ
• รางวัล Craftmanship Award 1 รางวัล เงินสด 50,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ
(ผู้ผ่านเข้ารอบสุดท้ายจะได้รับเงินค่าดำเนินการผลิตผลงาน จำนวน 40,000 บาท)
วิธีส่งผลงาน
• ส่งด้วยตนเองหรือทางไปรษณีย์ที่โครงการประกวดออกแบบเครื่องแต่งกาย “จากเส้นใยสู่ภูมิปัญญา จากภูมิปัญญาสู่อาภรณ์”สำนักส่งเสริมการออกแบบ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม 666 อาคารธนาลงกรณ์ทาวเวอร์ ชั้น 17 ถนนบรมราชชนนี เขตบางพลัด กรุงเทพฯ 10700
รายละเอียดเพิ่มเติม โทรศัพท์ 02 422 8828 www.ocac.go.th
หมดเขตส่งผลงาน 21 มีนาคม 2554
คัดเลือกผลงานผ่านเข้ารอบ 50 ผลงาน 28 มีนาคม 2554
สัมภาษณ์นักออกแบบและประกาศผลการคัดเลือก 8 เมษายน 2554
การประกวดรอบตัดสิน 10 ผลงาน 14 กรกฎาคม 2554
หมายเหตุ : ผลงานการออกแบบที่ได้รับคัดเลือกเข้ารอบตัดสินการประกวด ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม เพื่อใช้ในการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ต่อไป
Post a Comment